top of page

DESIGN for SOCIAL IMPACTS

อ อ ก แ บ บ เ พื่ อ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สั ง ค ม

ปากกาจากตะกอนน้ำเสีย

แก้ปัญหาขยะปากกาพลาสติกที่ใช้ไม่หมด และยังนำกากน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์



Garrett Benisch นักศึกษาสาขาการออกแบบอุตสาหกรรม จาก Pratt Institute ในนิวยอร์ก พัฒนาปากกาที่ทำจากกากตะกอนน้ำเสีย โดยนำมาเป็นส่วนประกอบทั้งในส่วนที่เป็นตัวด้ามและน้ำหมึกของปากกา โดยใช้ชื่อว่า 'Sum Waste' (http://www.sumwaste.com/)


กากตะกอนน้ำเสีย (biosolids) เป็นผลพลอยได้จากการบำบัดน้ำเสียซึ่งปกติแล้วจะถูกทิ้งไปอย่างไร้ราคา หรืออย่างดีที่สุดก็ถูกนำไปทำเป็นปุ๋ยและสิ่งปรับปรุงดินในการเพาะปลูกพืช แต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Benisch ในครั้งนี้ทำให้กากตะกอนน้ำเสียกลายเป็นสิ่งของที่มีราคา และยังช่วยลดขยะพลาสติกที่เกิดจากปากกาที่ใช้ไม่หมด


การออกแบบคุณค่าจากสิ่งไม่มีคุณค่า

ปากกาด้ามนี้เกิดจากการร่วมมือระหว่างนักออกแบบกับหน่วยงานด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมของเมือง (Department of Environmental Protection) โดยกนำกากตะกอนน้ำเสียมาปรับปรุงจนได้สารที่ชื่อว่า Polyhydroxyalkanoate หรือ PHA ซึ่งมีความแข็งตัวแต่ยืดหยุ่นคล้ายพลาสติก และสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติภายในเวลาประมาณ 2 เดือน


Benisch ใช้ PSA ที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสียมาใช้เป็นวัสดุหลักของด้ามปากกา ในขณะที่น้ำหมึกของปากกาก็เกิดจากการนำกากตะกอนน้ำเสียมาทำให้แห้ง บดให้ละเอียด และผสมกับน้ำมัน จนได้เป็นหมึกที่สามารถใช้เป็นไส้ของปากกาได้ ถือว่าปากกาด้ามนี้เป็นการเพิ่มคุณค่าการใช้ประโยชน์จากกากตะกอนน้ำเสียอย่างจริงจังได้ทั้งด้าม และยังทำให้ปากกาสามารถย่อยสลายได้ 100% ช่วยป้องกันปัญหาขยะพลาสติกจากอุปกรณ์เครื่องเขียนไปได้อีกหนึ่งชนิด


SolidSprout

ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม

Comentários


bottom of page