หนึ่งความเป็นไปได้ในการทดแทนพลาสติก
ด้วยผิวสัมผัสและคุณสมบัติที่แตกต่างของสาหร่าย และความพร้อมของฟาร์มสาหร่ายทั่วโลก นำมาสู่การแปรรูปเป็นแผ่นบางและพัฒนาคุณสมบัติให้สามารถห่อหุ้มอาหารได้และยังทนทานต่อการแพร่ซึมของของเหลว
การออกแบบวัสดุทดแทนพลาสติก
:: ประเด็นปัญหา ::
พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic) เป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังเร่งช่วยกันหาทางออก เพราะส่งผลกระทบทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และสุขภาพของมนุษย์ แต่การสรรหาวัสดุที่จะมาทดแทนพลาสติกได้ก็ยังเป็นสิ่งท้าทาย ทั้งในด้านคุณสมบัติและความคุ้มค่าในการลงทุน
:: การจัดการ ::
Wenwen Fan ( https://www.wenwenfan.com ) นักศึกษาจาก Royal College of Arts สหราชอาณาจักรศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้สาหร่ายเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับการผลิตวัสดุทดแทนพลาสติก ในโปรเจคที่ชื่อว่า ‘Seaweed U’ พบว่าสาหร่ายมีผิวสำผัสที่หลากหลายตามสายพันธุ์และพื้นที่ทั่วโลกในปัจจุบันยังมีฟาร์มสาหร่ายอยู่แล้วจำนวนมาก การเลี้ยงสาหร่ายนั้นไม่ยุ่งยากและให้ผลผลิตได้โดยไม่ต้องใช้เวลานานมากนัก นอกจากนี้การใช้วัสดุจากสาหร่ายในการห่อหุ้มอาหารยังไม่ทำให้ต้องมีของเหลือทิ้ง โดยสามารถรับประทานบรรจุภัณฑ์ไปพร้อมกับอาหารได้เลย สาหร่ายจะช่วยเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารและทำให้มีรสอูมามิในอาหารมากขึ้นด้วย ขณะนี้ Fan ได้ทดลองพัฒนาวัสดุให้มีความทนทานต่อการซึมผ่านของของเหลวได้ในอุณหภูมิห้อง และยังทดลองใช้สีและรสชาติจากธรรมชาติเพื่อที่ว่านอกจากจะใช้เป็นบรรจุภัณฑ์แล้ววัสดุนี้ก็อาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาหารอย่างขาดไม่ได้ไปอีกด้วย
SolidSprout
ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม
Comments