นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) พัฒนาแผ่นฟิล์มที่ช่วยให้มองเห็นในที่มืดได้ในราคาที่ถูกลงโดยประกอบด้วยวัสดุที่มีความบางในระดับนาโน
งานวิจัยเพื่อมองเห็นสิ่งที่มองไม่เห็น
โดยปกติสายตาของมนุษย์จะไม่สามารถมองเห็นในเวลากลางคืนได้ เพราะดวงตามนุษย์ใช้คลื่นในช่วงแสง (visible light) แต่สัตว์ที่หากินในเวลากลางคืนรวมทั้งกล้องที่ใช้สำรวจในเวลากลางคืนจะใช้ระบบอื่น เช่น เสียง ความสั่นสะเทือน หรือการรับภาพด้วยอินฟราเรด (infrared - IR)
แผ่นฟิล์มนี้พัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัยที่นำโดย Rocio Camacho Morales ใช้ผลึกคริสตัลขนาดนาโนเพื่อเปลี่ยนรังสีอินฟราเรดให้กลายเป็นคลื่นที่มนุษย์มองเห็นได้ โดยมีขนาดบางมากและไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นความร้อน (ซึ่งโดยปกติจะเป็นข้อจำกัดของกล้องถ่ายภาพตอนกลางคืนทั่วไป)
เทคโนโลยีนี้คาดว่าจะถูกนำมาใช้ในการผลิตแผ่นฟิล์มสำหรับติดบนแว่นตา โดยนอกเหนือจะเป็นประโยชน์ในด้านการทหารแล้ว ก็ยังสามารถนำมาใช้กับผู้ขับขี่ยานพาหนะในตอนกลางคืน และสำหรับคนทั่วไปที่ต้องเดินในซอยเปลี่ยวหรือในพื้นที่ที่อาจมีแสงน้อยในเวลากลางคืน
อ่านงานวิจัยนี้ https://doi.org/10.1117/1.AP.3.3.036002
SolidSprout
ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม
Comments