ไม่ใช่แค่ภาพ แต่รสชาติก็ถ่ายทอดมาให้ได้ชิม
Homei Miyashita นักวิจัยจาก Meiji University ประเทศญี่ปุ่น พัฒนาวิธีการสำหรับส่งรสชาติอาหารด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เลียนแบบการถ่ายทอดภาพด้วยวิธีดิจิทัล เพื่อให้สามาถจำลองอาหารได้สมจริงและเข้าถึงได้ด้วยประสาทสัมผัสหลายช่องทางมากกว่าแค่มองด้วยตา
การออกแบบการเชื่อมต่อดิจิทัลกับชีวภาพ
อุปกรณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาความจริงเสมือนด้านการรับรส (Augmented Gustation) ซึ่งก่อนหน้านี้การนำรสชาติไปสู่ผู้ชิมที่ปลายทางจะทำโดยการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปกระตุ้นการรับรสที่ลิ้น แต่วิธีนั้นไม่อาจแยกแยะรสที่แตกต่างกันได้ดีนัก วิธีการที่ Miyashita พัฒนาขึ้นครั้งนี้จึงใช้วิธีการที่แตกต่าง โดยส่งสัญญาณด้วยไอออน (ion) ของสารที่ทำให้รับรู้รสชาติพื้นฐานแต่ละชนิด
ในปากของคนเรามีต่อมรับรส 5 ชนิด ได้แก่ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอูมามิ การส่งรสชาติครั้งนี้จึงตั้งอยู่บนรสชาติเหล่านี้ โดยใช้ NaCl ให้ความเค็ม glycine ให้ความหวาน MgCl2 ให้ความขม citric acid ให้ความเปรี้ยว และ glutamic sodium ให้รสอูมามิ โดยรสชาติที่แตกต่างกันที่ปลายทางจะเกิดจากการกระตุ้นด้วยไอออนต่างๆ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ในเบื้องต้นนี้หน้าตาของอุปกรณ์ที่ได้มีลักษณะเป็นแท่งคล้ายซูชิที่หุ้มด้วยสาหร่าย นักวิจัยจึงตั้งชื่ออุปกรณ์ว่า ‘Norimaki synthesizer’ ตามชื่อซูชิโรลห่อสาหร่าย ( https://research.miyashita.com/papers/I42 ) โดยขั้นต่อไปนักวิจัยจะพัฒนาให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กลง เพื่อทำให้รสชาติถูกสัมผัสได้ด้วยพื้นที่ของลิ้นที่แคบลงและมีความสมจริงมากขึ้น
SolidSprout
ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม
Kommentit