พื้นที่สุดโหดอย่างผิวดาวอังคารกำลังถูกท้าทายด้วยการเพาะปลูกของมนุษย์โลก
จากความตั้งใจที่ทำให้มนุษย์สามารถท่องเที่ยวไปได้ไกลถึงอวกาศ และแนวโน้มความจำเป็นในอนาคตที่ต้องขยายพื้นที่การอยู่อาศัยของมนุษย์ไปยังดาวดวงอื่น นำไปสู่การศึกษาความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะตั้งรกรากบนดาวที่อยู่ใกล้กับโลก ในที่นี้รวมไปถึง 'ดาวอังคาร'
ดาวอังคารเป็นดวงดาวพี่น้องที่อยู่ไม่ห่างจากโลกมากนัก (ประมาณ 54.6 ล้านกิโลเมตร) แต่ด้วยระยะทางเพียงเท่านี้ก็ทำให้ดาวอังคารมีภูมิอากาศที่แตกต่างจากโลกมาก นั่นคือมีอุณหภูมิที่ต่ำเกินไปและยังเต็มไปด้วยอันตรายจากรังสียูวี ซึ่งเป็นปัจจัยท้าทายที่ทำให้การตั้งรกรากของมนุษย์บนดาวอังคารแทบเป็นไปไม่ได้
การออกแบบระบบการผลิตอาหารในที่หนาวเย็น
สภาพอากาศของดาวอังคารไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายต่อพืชทุกชนิด การไม่สามารถเพาะปลูกพืชบนดาวอังคารจะทำให้มนุษย์ขาดแหล่งอาหาร แต่ด้วยงานวิจัยใหม่โดย Robin Wordsworth จาก Harvard University, Ronald Kerber จาก California Institute of Technology และ Charles Cockell จาก University of Edinburgh (https://www.nature.com/articles/s41550-019-0813-0) ทำให้ข้อจำกัดนี้ถูกลดลงจนใกล้เป็นศูนย์
ทีมนักวิจัยพบว่า aerogel ซึ่งเป็นวัสดุใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบไม่นานมานี้ สามารถนำมาใช้ในการสร้างโดมที่มีความบางเพียง 2-3 เซนติเมตร ด้วยความหนาเพียงเท่านี้ก็สามารถก่อให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกบนดาวอังคาร ช่วยป้องกันรังสียูวี และทำให้อุณหภูมิข้างใต้สูงขึ้นจนสามารถเพาะปลูกพืชได้ ที่สำคัญคือโดม aerogel ยังสามารถขยายสเกลในการติดตั้งบนพื้นที่กว้างได้โดยไม่จำกัด นับจากวันนี้ถึงแม้จะยังอีกนานที่มนุษย์จะย้ายไปอยู่บนดาวอังคารได้จริงๆ แต่ตอนนี้ทีมนักวิจัยก็ได้นำประโยชน์นี้ไปใช้พัฒนาพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่หนาวเย็นบนโลกอย่างทวีปแอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
SolidSprout
ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม
Commentaires