top of page

DESIGN for SOCIAL IMPACTS

อ อ ก แ บ บ เ พื่ อ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สั ง ค ม

ห้องทดลองดูแลสัตว์น้ำกลางทะเล

สถาปัตยกรรมทางทะเลเพื่อการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ



ทีมนักวิจัยและสถาปนิกจาก California College of The Arts ออกแบบโครงสร้างศูนย์วิจัยทางทะเลที่จะช่วยดูแลความหลากหลายทางชีวภาพให้กับสิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในน้ำ และช่วยชะลอความแรงของคลื่นน้ำที่กัดเซาะชายฝั่ง เพื่อป้องกันผลกระทบจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นและการหนุนสูงของระดับน้ำทะเล


เมื่อภาวะโลกร้อน (climate change) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ มนุษย์จะอยู่อย่างไรกับผลกระทบที่ตามมาอีกมากมาย และเราจะมีส่วนช่วยในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมไว้ได้อย่างไร เมื่อมนุษย์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงเกิดการรวมตัวของคนจากหลากหลายสาขาวิชาเพื่อทำให้เราได้มีส่วนรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง ภายใต้โปรเจคที่ชื่อว่า ‘Float Lab’


การออกแบบการใช้งานร่วมกันของคนและโลก

โครงการนี้มีชื่อเต็มว่า Buoyant Ecologies Float Lab (https://www.architecturalecologies.cca.edu/research/buoyant-ecologies-float-lab) เป็นโครงสร้างที่สามารถนำมาก่อสร้างจริงได้ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ตามความจำเป็นในแต่ละพื้นที่ โดยขนาดเล็กที่เป็นต้นแบบเพื่อทดสอบมีขนาด 4.2 เมตร x 2.4 เมตร สามารถช่วยลดแรงกระแทกจากคลื่นทะเลเพื่อป้องกันการกัดเซาะของชายฝั่งอันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น


พื้นผิวด้านล่างของโครงสร้างถูกออกแบบให้มีผิวขรุขระและมีส่วนโค้งเว้าจำนวนมากเพื่อเป็นที่ยึดเกาะของสัตว์และพืชทะเล สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หลากหลายชนิดเพื่อดูแลความหลากหลายทางชีวภาพ และยังสามารถยึดเกี่ยวกับโครงสร้างเสริมอื่นๆ เช่น ปะการังเทียม เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการยึดเกาะและเพิ่มความซับซ้อนให้กับที่อยู่อาศัยของสัตว์ ด้านบนมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อนำพลังงานมาใช้ในการหมุนเวียนน้ำทะเลขึ้นสู่ยอด ‘ภูเขา’ ทั้งสองยอดซึ่งจะหล่อเลี้ยงผิวด้านบนให้มีความชุ่มชื้นเพียงพอที่จะทำให้เกิดการงอกของพืชขนาดเล็กพร้อมทั้งดึงดูดการอยู่อาศัยของสัตว์อื่นๆ ด้านบน ลอนคลื่นของผิวด้านบนยังช่วยเก็บกักน้ำฝนเพื่อนำมาใช้ภายในศูนย์วิจัยได้ และโครงสร้างที่ยื่นลงสู่ด้านล่างก็ช่วยให้นักวิจัยสามารถสังเกตการณ์สิ่งที่อยู่ใต้ผิวน้ำได้อย่างสะดวกมากขึ้น ถือว่าได้ประโยชน์ทั้งมนุษย์และโลกไปพร้อมๆ กัน


SolidSprout

ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม

Comments


bottom of page