อาหารสีฟ้า ครั้งแรกที่มาจากธรรมชาติ
สีฟ้าเป็นสีที่ไม่ได้พบในสัตว์และพืชตามธรรมชาติบ่อยนัก สีฟ้าส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการหักเหของแสง หาใช่การสะท้อนของเม็ดสีหรือรงควัตถุที่มีเนื้อในเป็นสีฟ้า ต่างจากสีส้ม สีเหลือง สีแดง และสีเขียว ที่มีรงควัตถุของตนเองในธรรมชาติและสามารถสกัดมาใช้งานได้ง่าย
ปัจจุบันอาหารสีฟ้าจึงเป็นผลมาจากการใช้เม็ดสีที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นจากกระบวนการปิโตรเคมี ซึ่งหากได้รับในปริมาณมากก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และต้องถูกจำกัดปริมาณการใช้แต่ละครั้งเสมอ
การศึกษาจาก University of California Davis ครั้งนี้ร่วมกับ Mars Wrigley Global Innovation Centre เป็นผลงานของนักศึกษา Pamela Denish โดยค้นพบกระบวนการนำเม็ดสีที่ให้สีฟ้าในธรรมชาติมาใช้ได้เป็นครั้งแรก
เม็ดสีที่เธอพบนี้มีโครงสร้างคล้ายแอนโธไซยานิน (anthocyanin) ในกะหล่ำปลีม่วง (ภาษาอังกฤษเรียกว่า red cabbage) ซึ่งมีปริมาณเพียงน้อยนิดเท่านั้น แต่สามารถเพิ่มให้มากขึ้นได้ด้วยการใช้เอนไซม์ (enzyme) ในการช่วยเปลี่ยนสีแดงในกะหล่ำปลีให้กลายเป็นสีน้ำเงิน
ในการทดลองเบื้องต้น ได้นำเม็ดสีฟ้าที่สกัดได้นี้มาใช้ผสมในไอศกรีมและขนมหลายชนิด และพบว่าสีฟ้านี้มีความคงทนอยู่ได้ประมาณ 1 เดือน
อ่านงานวิจัยฉบับนี้ https://advances.sciencemag.org/content/7/15/eabe7871
SolidSprout
ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม
コメント