จากการคำนวณ... คำตอบสั้นๆ คือ “1 ธันวาคม 2563” แต่ข่าวดีคือเราอาจได้ใช้ชีวิตปกติกันเร็วกว่านั้นมาก
การคำนวณทางคณิตศาสตร์เผยให้เห็นว่าสถานการณ์ COVID-19 ของโลกอาจสิ้นสุดแทบ 100% ในวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ในขณะที่สถานการณ์จะเบาบางไปแล้วถึง 97% ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2563
ด้วยการคาดการณ์จากข้อมูลจำนวนมาก โดยทีมงานจาก SUTD Data-Driven Innovation Lab แห่ง Singapore University of Technology and Design
...ใครจะรู้ว่า ‘การออกแบบ’ ก็เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จนี้ ต่อไปนี้คือข้อมูลเบื้องหลัง สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบไร้ทิศทาง แต่กำลังดำเนินไปตามรูปแบบของการระบาดของโรคปกติ ตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งคือการกำเนิดของโรค ต่อไปถึงระยะติดต่อ ระยะถดถอย และในที่สุดก็จะไปถึงจุดที่เบาบางมากจนเสมือนว่าได้ยุติลง วงจรชีวิตลักษณะนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการหลีกเลี่ยงการติดต่อทางสังคมประกอบกับนโยบายการปิดพื้นที่หรือลดการจัดกิจกรรมที่มีการชุมนุมชน
ในช่วงแรกของการระบาด ภาพของกราฟที่เราจะเห็นได้ชัดเจนคือการเพิ่มขึ้นของโรค แต่ในลำดับถัดไปจำนวนของการระบาดจะลดลงจนทำให้จากเดิมที่กราฟเป็นรูปตัว ’S’ จะค่อยๆ กลายเป็นรูป ‘ระฆังคว่ำ’ (ไม่จำเป็นต้องสมมาตร) ในการศึกษานี้ SUTD Data-Driven Innovation Lab แห่ง Singapore University of Technology and Design ใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ 2 ชนิดร่วมกัน ได้แก่ The Logistic Model (ซึ่งปกติจะใช้สำหรับการอธิบายวงจรของสถานการณ์ทั่วไป) และ Susceptible-Infected-Recovered Model (ปกติจะใช้ในการอธิบายการแพร่กระจายของโรคติดต่อ เรียกชื่อสั้นๆ ว่า SIR Model)
ทีมวิจัยใช้ open-source code จาก Milan Batista และใช้ข้อมูลสถิติจาก Our World in Data ในการคำนวณสถานการณ์ และยังคาดการณ์แบบเฉพาะเจาะจงให้แต่ละประเทศด้วย (ภาพต้นโพสต์นี้คือกราฟสถานการณ์ของโลก) โดยทีมนักวิจัยได้นิยาม ‘จุดสิ้นสุด’ เอาไว้ว่าเป็นวันสุดท้ายที่มีการติดเชื้อตามทฤษฎี อย่างไรก็ตาม หากเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นจริงในแต่ละประเทศเป็นไปตามทฤษฎี หน่วยงานต่างๆ ก็อาจนับจุดสิ้นสุดจริงไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะถึงจุดสิ้นสุดตามการคำนวณก็ได้ เพราะสถานการณ์จริงอาจได้คลี่คลายลงมากแล้วแม้การระบาดไม่ได้ลดลงถึง 100% ก็ตาม
...สำหรับประเทศไทย ข้อมูลการคาดการณ์การสิ้นสุด 100% คือวันที่ 11 มิถุนายน 2563
*สำคัญ* การคาดการณ์นี้นำมาจากข้อมูลสถิติที่เผยแพร่ในปัจจุบัน (ถึงวันที่โพสต์ คือ 28 เมษายน 2563) แม้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์จะทำนายไว้อย่างไร แต่เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นจริงต่อจากนี้ก็มีตัวแปรอื่นอีกมากที่อาจส่งผลต่อสถานการณ์การระบาดของโรคได้ตลอดเวลา ในที่นี้รวมไปถึงการร่วมมือกันของประชาชนที่จะป้องกันตนเองจากการติดต่อของโรคอย่างจริงจังต่อเนื่อง และนโยบายของรัฐที่ออกมาช่วยไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปมากกว่าเดิม ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดในการเสพข้อมูลนี้คือการไม่ประมาท และเตรียมพร้อมรับมือกับความพลิกผันของสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา
ดูข้อมูลต้นฉบับที่ https://ddi.sutd.edu.sg/when-will-covid-19-end/
SolidSprout ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม
Commentaires